เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดก็เหมือนกับเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือจะต้องเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อให้สั่งพิมพ์ได้ นอกจากนั้นยังต้องมีโปรแกรมสำหรับการออกแบบหรือเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลอื่นเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลมาพิมพ์บาร์โค้ดได้ เมื่อเราทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเรียบร้อยแล้ว ตรงส่วนของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเราก็จะต้องเปิดเครื่องและใส่ สติ๊กเกอร์ หรือ ฉลากให้เรียบร้อย หากเป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้หมึกริบบอนจำเป็นต้องตรวจเช็คเรื่องหมึกริบบอนว่าใส่เรียบร้อยดีแล้ว เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ให้เราเลือก preview ดูหน้าตาของสลากบาร์โค้ดที่หน้าจอโปรแกรมอีกครั้ง หากมั่นใจว่าถูกต้องและไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ก็สามารถสั่งพิมพ์ได้ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะทำงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะพิมพ์ได้ตามจำนวนที่ต้องการ 

เมื่อเราได้เริ่มต้นใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด และพิมพ์บ่อยจนเกิดความชำนาญรวมทั้งทำความเข้าใจในหลักการและขั้นตอนต่างๆ ของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแล้ว สำหรับการใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


สำหรับการเลือกใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดนั้นทางเจ้าของธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงขนาดและประเภทการใช้งาน
ของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เช่น หากเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีราคาแพงหรือใหญ่จนเกินไป โดยเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1. ระบบพิมพ์ผ่านผ้าหมึก (Thermal Transfer) คือระบบการพิมพ์ที่ต้องอาศัยผ้าหมึกในการพิมพ์ โดยตัวเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์เพื่อละลายหมึกริบบอนบนผ้าหมึกให้ติดกับสติ๊กเกอร์ที่ต้องการ ซึ่งผ้าหมึกที่เราใช้กับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เรียกว่า หมึกริบบอน (Ribbon) ข้อดีของระบบ Thermal Transfer คือ หมึกพิมพ์มีความคงทน สีไม่ซีด อยู่ได้นาน แต่เครื่องพิมพ์แบบนี้คุณจะต้องคอยเปลี่ยน หมึกริบบอน (Ribbon) อยู่เสมอ

2. ระบบพิมพ์โดยตรง (Direct Thermal) คือระบบการพิมพ์โดยไม่ต้องใช้หมึกริบบอน โดยตัวเครื่องพิมพ์จะส่งความร้อนไปยังหัวพิมพ์และสัมผัสกับตัวสติ๊กเกอร์โดยตรง ระบบการพิมพ์โดยตรงนั้นจะต้องใช้สติ๊กเกอร์สำหรับระบบนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากผิวหน้าของสติ๊กเกอร์มีการเคลือบสารเคมีเอาไว้ เมื่อโดนความร้อนจากเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแบบ Direct Thermal ในส่วนที่โดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีดำ สำหรับข้อดีของระบบ Direct Thermal คือ ช่วยให้คุณสามารถตัดปัญหาที่เกิดจาก ริบบอนบาร์โค้ด ทิ้งไปได้เลย ไม่ต้องคอยเปลี่ยน แต่ฉลากบาร์โค้ดนั้นก็จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน สารเคมีที่เคลือบอยู่จะสลายไปเองตามธรรมชาติ และไม่ทนต่อรอยขีดข่วน เช่น ฉลากยา ใบเสร็จค่าน้ำ ใบเสร็จค่าไฟ

โดยทั่วไปแล้วประเภทของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะของการใช้งาน คือ Desktop Printer, Mid-Rang Printer, Industrial Printer

สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ทาง สมาร์ท ไอเดนทิฟาย จำหน่ายนั้นมีทั้ง ZEBRA และ SATO เป็นเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแบบ Thermal Transfer มีความละเอียด 203 dpi, 300 dpi และ 600 dpi เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดบางรุ่นของ ZEBRA และ SATO ยังสามารถติดตั้ง module RFID เพื่อไว้สำหรับเขียนข้อมูลลง RFID Tag ได้ ทั้ง ZEBRA และ SATO Barcode Printer นั้นเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตามท้องตลาด มีราคาที่เหมาะสม คุณสามารถไว้วางใจในคุณภาพได้ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์สติ๊กเกอร์สำหรับติดสินค้า, รายละเอียดสินค้า, การทำสติ๊กเกอร์ สคบ., การพิมพ์ฉลากสินค้า โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่ Barcode Printer & Consumable เรามีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์โดยตรงคอยให้คำปรึกษากับคุณ โทร.02-136-9171-4
 
Visitors: 159,441